วันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2556

กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า

          ความเป็นมา

       กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า มีที่มาจากกวีนิพนธ์ Elegy Written in a Country ของ ทอมัส  เกรย์ (Thomas  Gray) กวีชาวอังกฤษ ซึ่งประพันธ์หลังจากญาติและเพื่อนของผู้ประพันธ์เสียชีวิตลงในเวลาใกล้เคียงกัน
       พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม  กาญจนาชีวะ) เป็นผู้ประพันธ์กลอนดอกสร้อรำพึงในป่าช้าจากต้นฉบับแปลของเสฐียรโกเศศ ก่อนที่จะขึ้นกลอนดอกสร้อยจะมีบทกถามุขหรือบทนำเรื่อง ซึ่งนาคะประทีปเป็นผู้เรียบเรียงไว้ ซึ่งก่อนเข้าสู่เนื้อเรื่องผู้ประพันธ์ได้ระบุข้อความที่เกี่ยวกับการแปลเรื่องนี้ไว้ว่า"จากภาษาอังกฤษที่ท่านเสฐียรโกเศศให้ข้าพเจ้าได้แต่งดัดแปลงให้เข้ากับธรรมเนียมไทยบ้าง"ดังบทประพันธ์นี้
                                   ๐ซากเอ๋ยซากศพ   อาจเป็นซากนักรบผู้กล้าหาญ
          เช่นชาวบ้านบางระจันขันรำบาญ   กับหมู่ม่านประทุษอยุธยา
          ไม่เช่นนั้นท่านกวีเช่นศรีปราชญ์    นอนอนาถเล่ห์ใบ้ไร้ภาษา
          หรือผู้กู้บ้านเมืองเรืองปัญญา         อาจจะมานอนจมถมดินเอย
       จากคำประพันธ์ตัวอย่างข้างต้น จะเห็นว่ามีการดัดแปลงโดยกล่าวถึงชาวบ้านบาลระจันเหล่าผู้กล้าของไทยเมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ และศรีปราชญ์ กวีของไทยในสมัยอยุธยาเป็นการดัดแปลงเนื้อความบางส่วนให้เข้ากับธรรมเนียมของไทย เป็นลักษณะเด่นของวรรณคดีไทยในสมัยรัขกาลที่ ๖ จนถึงรัชกาลที่ ๗

ประวัติผู้แต่ง

             พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม   กาญจนาชีวะ)
        พระยาอุปกิตศิลปสาร ชื่อเดิม นิ่ม  กาญจราชีวะ เกิดเมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๔๒๒ ได้รับการศึกษาชั้นต้นจากวัดบางประทุนนอกและที่วัดประยุรวงศาวาส ต่อมาได้บวชเป็นสามเณรและเป็นพระภิกษุที่วัดสุทัศนเทพวราราม
        พระยาอุปกิตศิลปสารเริ่มเข้ารับราชการ โดยทำงานเป็นครูฝึกสอนที่โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์สายสวลีสัณฐาคาร ฝ่ายสอนหนังสือที่โรงเรียนสวนกุลาบและโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์บ้านสมเด็จเจ้าพระยา
         ผลงานสำคัญทางภาษาและวรรณคดีไทย  ได้แก่ สยามไวยากรณ์ เป็นตำราไวยากรณ์ไทยมี ๔ เล่ม ได้แก่ อักขรวิธี วจีวิภาค วากยสัมพันธ์และฉันทลักษณ์